วิทยาลัยการช่างลาว-เยอรมัน

วิทยาลัยการช่างลาว-เยอรมัน (เรียกอย่างย่อว่า แอลจีที่ซี) คือต้นแบบ และ สถาบันชั้นนำสำหรับการอบรม และ การศึกษาด้านเทคนิคในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นโรงเรียนฝึกวิชาชีพภายใต้การอุปถัมภ์ของกระทรวงศึกษาธิการ และ การกีฬา Ministry of Education and Sports ถูกจัดตั้งในปี 1964 เป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของประเทศเยอรมนีในประเทศลาวขณะนั้น และได้รับการสนับสนุน ณ ปัจจุบันโดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี.

แอลจีที่ซี ได้จัดให้มีหลักสูตรการฝึกวิชาชีพต่างๆสำหรับนักเรียนลาวซึ่งจบการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือตอนปลาย ระดับขั้นสำเร็จการศึกษาแบ่งเป็นประเภทตั้งแต่ ” คนงานผู้มีความชำนาญ” ถึง “ปริญญาตรี” นักเรียนมากกว่า 1,300 คนกำลังลงทะเบียนขณะนี้, พร้อมกับนักเรียนใหม่ 670 คนที่กำลังจะเข้ารับการฝึกอบรมในเดือนกันยายน 2016.

แอลจีที่ซี ถูกแบ่งออกเป็นหกภาคหลัก: ยานยนต์, เครื่องจักรกลโลหะ, อุปกรณ์อิเล็คโทรนิค -ไฟฟ้า, การประปา-การเชื่อม, เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ และ เครื่องจักรกลการเกษตร แต่ละภาคมีโรงปฏิบัติการเป็นของตนเอง; การเรียนภาคทฤษฎีถูกจัดขึ้นที่อาคารหลัก.

เนื่องจากแอลจีที่ซี มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศเยอรมนี และ มีระบบการฝึกอบรมแบบจับคู่ (ที่เป็นเอกลักษณ์), จึงมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมบริษัทต่างๆเพื่อเข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีให้มากยิ่งขึ้น, เพื่อนำไปสู่การศึกษาภาควิชาชีพแบบเน้นการปฏิบัติ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบของเยอรมนี, ซึ่งการฝึกวิชาชีพถูกแยกออกเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา (ทฤษฏี) และบริษัทร่วม (ปฏิบัติ), แอลจีที่ซี ได้พัฒนาระบบซึ่งทั้งสองส่วนถูกรวมกัน (ส่วนใดส่วนหนึ่ง) ในวิทยาลัยแห่งนี้ บริษัทร่วมสามารถใช้เครื่องยนต์ และ อุปกรณ์การฝึกหลากหลายชนิดในวิทยาลัยเพื่อให้เกิดหลักสูตรการฝึกที่บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถมีได้ในโรงปฏิบัติการของตนเองเนื่องจากความขาดแคลนเครื่องจักร และ บุคลากร เมื่อใดก็ตามที่เป็นจริง, บริษัทเหล่านั้นจะสามารถมอบการฝึกอบรมภายในบริษัทด้วยโรงปฏิบัติการของตนเอง.

เนื่องจากการจัดการ และ อุปกรณ์ที่ดี, แอลจีที่ซี ได้ร่วมมือกับบริษัทต่างๆทั้งระดับท้องถิ่น และระหว่างประเทศ, เช่น โตโยต้า และ อาร์เอ็มเอ ฟอร์ด ในภาคยานยนต์, พูเบียมายนิ่ง ในภาคการไฟฟ้า และ โลหะ, คูโบต้า ในภาคเครื่องจักรกลการเกษตร, บริษัทเอ็นเดรส ฮาวเซอร์ และ น้ำเทิน 2 พาวเวอร์ ในภาคระบบไฟฟ้า, และ บีเอชเอส คอร์รักเกทเท็ด ในภาคระบบเครื่องกล และไฟฟ้า.